แนะนำโรงเรียน
ผู้บริหาร
ครูและบุคลากร
กิจกรรมเด่น
ติดต่อเรา
เว็บบอร์ดSmart School
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
ประวัติโรงเรียน

     ท่านโต๊ะกีดำ อิสมาแอลได้อุทิศที่ดินโฉนดเลขที่ ๕๗๖๙ เล่มที่ ๕๖ หน้า ๖๙ เลขที่ดิน ๑๒๗ จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน ๘๕
ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน  กำนันหิรัญ ฮีมวิเศษ (กำนันไฮ) พร้อมด้วยชาวบ้านและผู้ปกครอง ได้สละทรัพย์  คนละเล็กละน้อย ได้เงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๕๒๘ บาท ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ กว้าง ๙ เมตร
ยาว ๑๖ เมตร ขนาด ๔ ห้องเรียน ปลูกกันเอง เสร็จเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๒ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๒
ผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิด
๑. นายประสงค์ รังสิวัฒน์ ศึกษาธิการจังหวัดพระนคร
๒. นายสนั่น รักธรรม นายอำเภอบางกะปิ
๓. นายศรีโพธิ์ ทองอยู่ ศึกษาธิการอำเภอบางกะปิ
เป็นโรงเรียนประชาภิบาลสังกัดจังหวัดพระนคร มีนายยงยุทธ อุมัษเฐียร เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาชาวลำสาลีได้พิจารณาเห็นสมควรตั้งมัสยิดขึ้นบริเวณใกล้คลองลำสาลี จึงรวบรวมเงินได้จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อที่ดินของกำนันหิรัญ ฮีมวิเศษ จำนวน ๑ ไร่ เพื่อสร้างมัสยิด
การจดทะเบียนสิทธิ
ชาวลำสาลีได้จดทะเบียนที่ดินที่โต๊ะกีดำ อิสมาแอล จำนวน ๑ ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของมัสยิดยามิลอุ้ลมุตตะกีน
เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๐๓  การพัฒนาอาคารสถานที่
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เทศบาลนครกรุงเทพประกาศพื้นที่ขยายเทศบาลมาในท้องที่ตำบลหัวหมาก
โรงเรียนลำสาลีจึงโอนไปสังกัดเทศบาลนครกรุงเทพ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เทศบาลนครกรุงเทพได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารไม้ ๒ ชั้น ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวนเงิน
๓๕๙,๓๐๐ บาท (รื้อแล้ว)
ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้งบประมาณสร้างอาคารตึก ๓ ชั้น ๑ หลัง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนตึก ๓ ชั้น ๑ หลัง ถมดินปรับพื้นสนาม ติดตั้งไฟฟ้า ประปา
ตั้งเสาธง ก๊อกน้ำ ๘ ที่ ในวงเงิน ๒๓๗,๕๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างรั้วด้านติดถนนยาว ๗๐.๘๕ เมตร สร้างส้วม ๑ หลัง ๖ ที่นั่งงบประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ สร้างรั้วเพิ่มเติมยาว ๙๐ เมตร วงเงิน ๘๔,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สร้างอาคารเรียนตึก ๓ ชั้น ๙ ห้องเรียน พร้อมถมที่ ๓๐ ตารางเมตร เป็นเงิน ๑,๒๒๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ - ซ่อมพื้นอาคารทรุด ๒๘,๘๐๐ บาท
- ทาสีอาคาร ๒ ๒๐,๐๐๐ บาท
- ซ่อมหน้าต่าง ๖,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างอาคารเรียนแบบ ๘๕๐ เป็นเงิน ๒,๖๒๕,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าอาคารเรียนติดถนนเป็นเงิน ๑๑๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - ทาสีอาคารเรียน อาคาร ๒ และห้องประชุมอาคาร ๓ เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท
- ซ่อมเปลี่ยนประตูเหล็กม้วน อาคารเรียน ๒ และ ๓ เป็นเงิน
๑๕,๒๐๐ บาท
- ต่อเติมหลังคา หน้าอาคาร ๑ หลังอาคาร ๑ หน้าอาคาร ๒
หลังอาคาร ๒ เป็นเงิน ๕๘,๐๐๐ บาท

การเรียนการสอน
เปิดสอนครั้งแรก ๑ มกราคม ๒๔๙๒ สอน ป.๑ - ป.๔ ประถมศึกษาตอนต้น
ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ป.๑ - ป.๗
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ยุบชั้นป. ๗ ใช้หลักสูตรประถมศึกษา ๒๕๒๑ สอน ป.๑ - ป.๖
ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เปิดสอนชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ๑ ห้อง

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ๕ ชั้น โครงสร้าง ๑๕ ห้องเรียน
ใต้ถุนโล่ง จำนวน ๑ หลัง โดยขอรื้อถอนอาคาร ๑ ซึ่งเป็นอาคาร ๓ ชั้น ๖ ห้องเรียน เพื่อจะได้มีอาคารเรียนและห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน โดยได้ทำหนังสืออนุญาตมัสยิดซึ่งเป็นผู้ครอบครอง
กรรมสิทธิ์ที่ดิน และได้รับคำตอบด้วยวาจาไม่อนุญาต ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้ทัศนียภาพของมัสยิดเสียหาย
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๗ คณะกรรมการพิจารณาร่างงบประมาณสภากรุงเทพมหานครได้มา
ตรวจสอบสถานที่ที่จะก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวจึงได้แนะนำให้โรงเรียน
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดินฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนซึ่งเป็นที่ตั้งของ
โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ชื่อว่า "โรงเรียนกันซุสซอลีฮีน"
โดยมีนายหะยีสมาแอ พ่วงศิริ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา
ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา โรงเรียนลำสาลีได้เข้าชี้แจงงบประมาณ ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ และได้มอบเอกสารหนังสือยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและผังบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอาคารเรียน โดยทำหนังสืออนุญาตให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างอาคารเรียนในที่ดินแปลงดังกล่าวได้ และเจ้าของที่ดินได้ระบุจุดประสงค์ว่าโอกาสหน้าจะยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนกันซุสซอลีฮีน จึงแจ้งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) ในขณะนั้นคือนายวิชัย ภู่หลำ ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนในแปลงดังกล่าวและยินยอมให้อยู่ในที่ดินของมูลนิธิตลอดไป
ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๘ กรุงเทพมหานครโดยนายประเจียด สกุลวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนามในสัญญาเป็นผู้รับจ้างให้การปรับปรุงเสริม
สร้างโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) ระหว่างบริษัทประยูรชัย จำกัด ตามรายละเอียด คือ สร้างอาคารเรียน ๕ ชั้น
( อนุโลมใช้แบบ สน.ศ. ๓๘๔ ) ๑ หลัง ชั้น ๑-๒-๓-๔และ๕ เป็นพื้นหินขัดฝังเส้น พี วิ ซี ทุกชั้น ชั้นล่างโล่ง ชั้น ๒ เป็นห้องโสตและห้องสมุด ขนาด ๗ X ๑๒ เมตร รวม ๒ ห้อง และห้องขนาด ๗ X ๘ เมตร ๑ ห้อง ชั้น ๓-๔-๕
เป็นห้องเรียนชั้นละ ๔ ห้อง รวม ๑๒ ห้อง มีเวที ที่ดื่มน้ำนักเรียนที่ระเบียงชั้น ๓ รวม ๑ แห่งม้านั่ง ค.ส.ล.
ที่วางเท้าหน้าอาคาร ๔ ชุด บันไดแบบมีห้องน้ำ-ส้วม ทุกชานพักละ ๑ แห่ง เคาเตอร์ประกอบอาหารแบบ ศอ.๒๐๒ ก่อสร้างโดยบริษัทประยูรชัย ( ๑๙๔๘ ) จำกัด เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๓๘ แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๙ งบประมาณทั้งสิ้น ๑๐,๐๙๐,๐๐๐ บาท ( สิบล้านเก้าหมื่นบาทถ้วน )
ในปีการศึกษา ๒๕๓๘ ทางกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
เปิดสอนชั้นเด็กเล็กเพิ่มขึ้นอีก ๒ ห้องเรียน รวมเป็นชั้นเด้กเล็ก ๓ ห้องเรียน ตามบันทึกของสำนักการศึกษา
ที่ กท.๓๐๐๓/๖๐๖๒ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘
เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายธงชัย กลิ่นขจร
มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ ทางที่ปรึกษาผู้ว่ากรุงเทพมหานคร นำโดยนายกว้าง รอบคอบ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษษธิการให้ทางโรงเรียนเปิดเด็กเล็กอายุ ๓-๔ ขวบ อย่างละ ๑ ห้อง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ปกครองในการประกอบอาชีพ ในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
เป็นโครงการนำร่องในปีการศึกษา ๒๕๔๐ ทางกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้โรงเรียน
ในสังกัดที่สามารถเปิดสอนชั้นอนุบาล ๑ อายุ ๔ ขวบครึ่ง ให้ทำการเปิด โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
ได้อนุมัติเปิด ๒ ห้องเรียน ตามบันทึกศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (สำนักการศึกษา) ที่ กท.๓๐๐๐/๓๕๘
ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๑

ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งแต่งตั้ง นายยิ่งยง บุญยศ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) เมื่อ ตุลาคม ๒๕๕๖ ปัจจุบันมรอาคารเรียน ๔ หลัง เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาล - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนชาย ๓๕๓ นักเรียนหญิง๒๕๕ รวมจำนวนนักเรียน ๖๐๘ คน ข้าราชการครู ๒๗ คน พี่เลี้ยงเด็ก ๕ คน ภารโรง ๓ คน ธุรการ ๑ คน

ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งแต่งตั้ง นางชณัญ ธราวรรัฐ
มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำสาลี(ราษฎร์บำรุง) เมื่อ เดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ปัจจุบันมีอาคารเรียน ๔ หลัง
อาคาร ๑ ปิดปรับปรุง เพื่อรอการจำหน่าย
เปิดทำการสอนระดับชั้น อนุบาล - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๖๕คน
ข้าราชการครู ๒๗ คน พี่เลี้ยงเด็ก ๕ คน ภารโรง ๓ คน

ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กรุงเทพมหานครมีคำสั่งแต่งตั้ง นางงสาวฉัฐนันท์ พุ่มเรือง มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำสาลี(ราษฎร์บำรุง) เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
ปัจจุบันมีอาคารเรียน ๓ หลัง เปิดทำการสอนระดับชั้น อนุบาล - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๙๐ คน
ข้าราชการครู ๒๗ คน พี่เลี้ยงเด็ก ๕ คน ภารโรง ๓ คน